วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

รายชื่อวรรณคดีไทย










กาพย์มหาชาติ
กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์
ไกรทอง 
ขุนช้างขุนแผน
โคบุตร
โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
โคลงดั้นนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย
โคลงทวาทศมาส
โคลงนิราศพระยาตรัง (นิราศถลาง)
โคลงนิราศหริภุญชัย
โคลงพยุหยาตราเพชรพวง
โคลงโลกนิติ
เงาะป่า
จันทโครพ
จินดามณี
ไชยเชษฐ์
ไชยทัต
ดาหลัง (อิเหนาใหญ่)
ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา)
ไตรภูมิโลกวินิจฉัย
ทวาทศมาส (โคลงทวาทศมาส)
ทศรถสอนพระราม
ท้าวแสนปม
นันโทปนันทสูตรคำหลวง
นางนพมาศ (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์)
นิราศกวางตุ้ง (นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน)
นิราศเดือน
นิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย (โคลงดั้นนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย)
นิราศถลาง(โคลงนิราศพระยาตรัง)
นิราศทวาราวดี
นิราศนครวัด
นิราศนครสวรรค์
นิราศนรินทร์
นิราศธารทองแดง (กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง)
นิราศธารโศก (โคลงนิราศพระบาท)
นิราศไปตรัง(เพลงยาวนมัสการพระบรมธาตุ นิราศไปตรัง)
นิราศพระแท่นดงรัง
นิราศพระบาท
นิราศพระประธม
นิราศพระยาตรัง
นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน (นิราศกวางตุ้ง)
นิราศภูเขาทอง
นิราศเมืองแกลง
นิราศเมืองเพชร
นิราศรัตนะ
นิราศรำพึง (รำพันพิลาป)
นิราศลอนดอน
นิราศวัดเจ้าฟ้า
นิราศษีดา (ราชาพิลาปคำฉันท์)
นิราศสุพรรณ
นิราศอิเหนา
นิทานทองอิน
ปุณโณวาทคำฉันท์
ปลาบู่ทอง
ปฐมสมโพธิกถา
พระไชยสุริยา
พระนลคำฉันท์
พระนลคำหลวง
พระมะเหลเถไถ
พระมาลัยคำหลวง
พระรถคำฉันท์
พระราชพิธีสิบสองเดือน
พระเวสสันดร
พระสุธนคำฉันท์
พระอภัยมณี
พาลีสอนน้อง
เพลงยาวถวายโอวาท
เพลงยาวนมัสการพระบรมธาตุ นิราศไปตรัง
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
เพลงยาวพระยาตรัง
เพลงยาวของพระยามหานุภาพ
เพลงยาวหม่อมภิมเสน
พิกุลทอง
มณีพิชัย
มหาชาติคำกาพย์ (กาพย์มหาชาติ)
มหาชาติคำฉันท์
มหาชาติคำหลวง
มหาเวสสันดรชาดก (พระเวสสันดร)
มัทนะพาธา
ยวนพ่ายโคลงดั้น
ยอพระกลิ่น
ยุขัน
ระเด่นลันได
ราชสวัสดิ์
ราชาธิราช
ราชาพิลาปคำฉันท์
รามเกียรติ์
รำพันพิลาป
ลักษณวงศ์
ลิลิตนิทราชาคริต
ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง
ลิลิตพระลอ
ลิลิตเพชรมงกุฎ
ลิลิตยวนพ่าย (ยวนพ่ายโคลงดั้น)
ลิลิตตะเลงพ่าย
ลิลิตศรีวิชัยชาดก
ลิลิตโองการแช่งน้ำ (ประกาศแช่งน้ำโคลงห้า, โองการแช่งน้ำ)
เวนิสวาณิช
ศกุนตลา
ศรีธนนชัย
ศิริวิบุลกิตติ
สมบัติอมรินทร์คำกลอน
สมุทรโฆษคำฉันท์
สรรพสิทธิ์คำฉันท์
สวัสดิรักษา
สังข์ทอง
สังข์ศิลปชัย
สามัคคีเภทคำฉันท์
สาวิตรี
สิงหไตรภพ
สุบินกุมาร
สุภาษิตพระร่วง (บัญญัติพระร่วง)
สุภาษิตสอนหญิง
สุวรรณหงส์
เสือโคคำฉันท์
สมุทรโคดม
หม่อมเป็ดสวรรค์
หลวิชัยคาวี
อนิรุทธ์คำฉันท์
อภัยนุราช
อาบูหะซัน
อิลราชคำฉันท์
อิเหนา
อิเหนาคำฉันท์ - เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
บทละครเรื่องอิเหนา - พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
บทละครเรื่องดาหลัง - พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
บทละครเรื่องอิเหนา - พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
นิราศอิเหนา - สุนทรภู่
อิเหนาคำฉันท์ - กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ
อุณรุทร้อยเรื่อง

โองการแช่งน้ำ


"รวมบรรดาเมียของพระอภัยมณี"



"รายชื่อเมียของพระอภัยมณี"







1. นางผีเสื้อสมุทร       2. นางเงือก       3. นางสุวรรณมาลา    4. นางวาลี      5. นางละเวงวัลฬา

เปิดตำนาน "นางบุษบา"



 

นางบุษบา






               นางบุษบาเป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่ง  กรุงดาหา เมื่อตอนประสูติมีเหตุอัศจรรย์คือ มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งวัง ดนตรี แตรสังข์ก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีผู้บรรเลง ประสูติได้ไม่นาน ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนา  บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวากิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคนใจกว้างและมีเหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ใหลหลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่น นอกจากนั้นบุษบายังเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดา พระมารดา ยอมแต่งงานกับระตูจรกา แม้ว่าจะไม่พอใจในความขี้ริ้วขี้เหร่ของระตูจรกาก็ตาม นางถูกเทวดาบรรพบุรุษ ของวงค์อสัญแดหวาคือ องค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้ลมพายุหอบไป ทำให้นางต้องพลัดพรากจากอิเหนา และพระบิดาพระมารดาเป็นเวลาหลายปี กว่าจะได้พบอิเหนาและวิวาห์กัน โดยนางได้ตำแหน่งเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย

เปิดกรุเรื่องราวนางในวรรณคดีที่ได้ชื่อว่า "เมียเจ้าเงาะป่า"


เรื่องราวของเมียเจ้าเงาะ





นางรจนา เป็นธิดาสุดท้องจากจำนวนเจ็ดองค์ของท้าวสามล พี่ๆเลือกคู่ได้สามีสมน้ำสมเนื้อกันแล้ว แต่นางรจนากลับเลือกได้เจ้าเงาะรูปชั่วตัวดำ ทั้งๆที่ตนเป็นสาวสวย จึงเป็นที่เยาะเย้ยไปทั่ว ทำให้พระบิดากริ้วไล่ให้ไปตกระกำลำบากที่กระท่อมปลายนา ต่อมาพระอินทร์ต้องแปลงร่างมาตีคลีเพื่อช่วยให้เจ้่าเงาะได้ถอดรูปให้ทุกคนได้เห็นรูปทองในที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

เปิดกรุ......นางสีดา








นางสีดา เป็นนางในวรรณคดีจากเรื่อง ” รามเกียรติ์ ” ในเรื่องรามเกียรติ์นั้นนางสีดานับว่าเป็นบุคคลสำคัญ ที่เป็นจุดเริ่มของเหตุการณ์ที่โยงไปสู่การรบกันระหว่างพระรามกับทศกัณฑ์
ประวัติ ลักษณะนิสัยนางสีดาเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อสามีอย่างเป็นเลิศ เช่น ในตอนที่พระรามต้องออกดินป่า นางก็ขอตามเสด็จไปด้วยโดยไปเกรงกลัวต่อความยากลำบากที่จะต้องพบ นางสีดานั้นรักนวลสงวนตัว รักในเกียรติของตนเอง เช่น ในตอนที่หนุมานอาสาจะพานางกลับไปหาพระรามโดยให้นั่งบนมือของหนุมาน นางก็ปฏิเสธทั้งที่มีโอกาสหนี แต่ด้วยเหตุที่ไม่อยากให้ใครมาถูกเนื้อต้องตัวจึงยอมทนทุกข์อยู่เมืองลงกาต่อ มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว เช่น ตอนที่นางสีดายอมลุยไฟเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของตน นางสีดามีความรู้คุณ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น ในตอนที่นางสีดากล่าวขอบคุณพระลักษมณ์ที่ช่วยเหลือนางมาตลอด เมื่อรู้ว่าตนทำผิดก็รู้จักขอโทษ เช่น ในตอนที่รู้ว่าตนทำผิดที่ไม่เชื่อคำของพระรามว่าเป็นกลลวงของยักษาที่แปลงกายเป็นกวางเพื่อหลอกล่อนาง แต่นางก็ไม่ฟัง จึงได้กล่าวขอพระราชทานอภัยโทษจากพระรามที่ได้กระทำผิดไป นางเป็นคนใจแข็ง ไม่ยอมเชื่อใครโดยง่าย ทั้งยังรักศักดิ์ศรีของตน เช่น ในตอนที่พระรามตามง้อขอคืนดี นางก็ปฏิเสธไปเพราะยังมีทิฐิ
นางสีดาเป็นสตรีที่มีความงามยิ่งกว่านางฟ้าในสวรรค์ ผู้ใดพบเห็นก็ต่างพากันตะลึงในความงดงามของนาง เช่น เมื่อพระรามเดินทางมาเมืองมิถิลาเพื่อร่วมพิธียกศร ซึ่งท้าวชนกโปรดให้จัดขึ้นเพื่อหาคู่ให้นางสีดา ครั้นพระรามให้เห็นนางสีดาก็เกิดความรักขึ้นทันที จนลืมองค์ชั่วขณะหรือแม้แต้ท้าวมาลีวราช เมื่อได้เห็นนางสีดาก็ยังชื่นชมในความงามของนาง
นางสีดาคือพระลักษมีจุติลงมาตามบัญชาของพระอิศวรเพื่ออัญเชิญพระนารายณ์อวตาร นางสีดาเกิดจากนางมณโฑและทศกัณฐ์ พิเภกได้ทำนายดวงชะตานางสีดาว่าจะเกิดมาทำลายเผ่ายักษ์ นางจึงถูกทิ้งให้ลอยน้ำมาในผอบทอง ต่อมาพระฤาษีชนกก็รับเลี้ยงนางสีดาเป็นธิดา และตั้งชื่อนางว่าสีดา ต่อมานางก็ได้อภิเษกกับพระราม และเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นเมื่อนางถูกทศกัณฐ์จับตัวไปเพื่อให้เป็นมเหสีเนื่องจากความงามเป็นเลิศของนาง จึงเกิดการรบกันระหว่างฝ่ายพระรามและทศกัณฐ์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ขอเปิดกรุ.... พาชม.... เจ้าของตำนานดอกกุหลาบ

นางในวรรณคดี ที่ได้ถูกขนานนามว่าเป็นตำนานแห่งดอกกุหลาบ ก็คือ " นางมัทนา"






             นางมัทนา (นางฟ้าผู้เกิดเป็นดอกกุหลาบ) จากวรรณคดีเรื่องมัทนะพาธา
บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2466 ทรงพระราชนิพนธ์ถึงตำนานการกำเนิดแห่งดอกกุหลาบ และวรรณคดีสโมสรได้ยกย่องว่าเป็นยอดแห่งบทละครคำฉันท์ เป็นบทละครพูดซึ่งแปลกและแต่งได้ยาก เป็นวัฒนธรรมภารตะโบราณและเข้ากับเนื้อเรื่องได้ดี
                มัทนะพาธา...มัทนา มาจากศัพท์ มทนะ แปลว่า ความลุ่มหลงหรือความรัก มัทนะพาธา จึงมีความหมายถึงความเจ็บปวดและความเดือนร้อนเพราะความรัก...เรื่องมัทนะพาธาใช้คำประพันธ์หลายชนิดแต่เน้นแต่งด้วยฉันท์ บางตอนใช้กาพย์ยานี กาพย์ฉบังหรือกาพย์สุรางคนางค์ และมีบทเจรจาร้อยแก้วในส่วนของตัวละครที่ไม่สำคัญ ทำให้มีลีลาภาษาที่หลากหลาย ตอนใดดำเนินเรื่องรวดเร็วก็ใช้ร้อยแก้ว ตอนใดต้องการจังหวะเสียงและความคล้องจองก็ใช้กาพย์ และตอนใดที่เน้นอารมณ์มากก็มักใช้ฉันท์ เช่น ตอนที่สุเทษณ์ตัดพ้อและมัทนาเจรจาตอบใช้วสันตดิลก แสดงจังหวะรวดเร็วของถ้อยคำเสริมให้คารมโต้ตอบกันมีลีลาฉับไวและทันกัน
              มัทนะพาธาเป็นเรื่องที่สมมุติว่าเป็นกำเนิดของต้นกุหลาบ กล่าวถึงสุเทษณ์หลงรักมัทนา แต่มัทนาไม่รับรัก สุเทษณ์จึงกริ้ว มัทนาต้องลงมาเกิดในโลกมนุษย์เป็นการชดใช้โทษ เมื่อพบรักกับชัยเสน ความรักก็ไม่ราบรื่นเพราะมีอุปสรรคคือนางจันฑี มัทนาต้องถูกพรากไปจากชัยเสน และได้พบสุเทษณ์อีกครั้งหนึ่ง แต่มัทนาก็ยังไม่เปลี่ยนใจจากชัยเสนมารักสุเทษณ์ เรื่องจึงจบด้วยความสูญเสีย สุเทษณ์ไม่สมหวังในความรัก ชัยเสนสูญเสียคนรัก และมัทนาต้องเปลี่ยนสภาพมาเป็นเพียงดอกกุหลาบ