นางในวรรณคดี ที่ได้ถูกขนานนามว่าเป็นตำนานแห่งดอกกุหลาบ ก็คือ " นางมัทนา"
นางมัทนา (นางฟ้าผู้เกิดเป็นดอกกุหลาบ) จากวรรณคดีเรื่องมัทนะพาธา
บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2466 ทรงพระราชนิพนธ์ถึงตำนานการกำเนิดแห่งดอกกุหลาบ และวรรณคดีสโมสรได้ยกย่องว่าเป็นยอดแห่งบทละครคำฉันท์ เป็นบทละครพูดซึ่งแปลกและแต่งได้ยาก เป็นวัฒนธรรมภารตะโบราณและเข้ากับเนื้อเรื่องได้ดี
บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2466 ทรงพระราชนิพนธ์ถึงตำนานการกำเนิดแห่งดอกกุหลาบ และวรรณคดีสโมสรได้ยกย่องว่าเป็นยอดแห่งบทละครคำฉันท์ เป็นบทละครพูดซึ่งแปลกและแต่งได้ยาก เป็นวัฒนธรรมภารตะโบราณและเข้ากับเนื้อเรื่องได้ดี
มัทนะพาธา...มัทนา มาจากศัพท์ มทนะ แปลว่า ความลุ่มหลงหรือความรัก มัทนะพาธา จึงมีความหมายถึงความเจ็บปวดและความเดือนร้อนเพราะความรัก...เรื่องมัทนะพาธาใช้คำประพันธ์หลายชนิดแต่เน้นแต่งด้วยฉันท์ บางตอนใช้กาพย์ยานี กาพย์ฉบังหรือกาพย์สุรางคนางค์ และมีบทเจรจาร้อยแก้วในส่วนของตัวละครที่ไม่สำคัญ ทำให้มีลีลาภาษาที่หลากหลาย ตอนใดดำเนินเรื่องรวดเร็วก็ใช้ร้อยแก้ว ตอนใดต้องการจังหวะเสียงและความคล้องจองก็ใช้กาพย์ และตอนใดที่เน้นอารมณ์มากก็มักใช้ฉันท์ เช่น ตอนที่สุเทษณ์ตัดพ้อและมัทนาเจรจาตอบใช้วสันตดิลก แสดงจังหวะรวดเร็วของถ้อยคำเสริมให้คารมโต้ตอบกันมีลีลาฉับไวและทันกัน
มัทนะพาธาเป็นเรื่องที่สมมุติว่าเป็นกำเนิดของต้นกุหลาบ กล่าวถึงสุเทษณ์หลงรักมัทนา แต่มัทนาไม่รับรัก สุเทษณ์จึงกริ้ว มัทนาต้องลงมาเกิดในโลกมนุษย์เป็นการชดใช้โทษ เมื่อพบรักกับชัยเสน ความรักก็ไม่ราบรื่นเพราะมีอุปสรรคคือนางจันฑี มัทนาต้องถูกพรากไปจากชัยเสน และได้พบสุเทษณ์อีกครั้งหนึ่ง แต่มัทนาก็ยังไม่เปลี่ยนใจจากชัยเสนมารักสุเทษณ์ เรื่องจึงจบด้วยความสูญเสีย สุเทษณ์ไม่สมหวังในความรัก ชัยเสนสูญเสียคนรัก และมัทนาต้องเปลี่ยนสภาพมาเป็นเพียงดอกกุหลาบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น